Boosters Reduce COVID Deaths in Patients With Multimorbidity
ขณะนี้เข้าสู่ปีที่ 4 ของการระบาดของโรคโควิด-19 แล้ว หลายประเทศเริ่มฟื้นตัวจากสถานการณ์การระบาด เริ่มมีการเปิดประเทศ ซึ่งทำให้พบอุบัติการณ์การระบาดของโรคกลับขึ้นมาอีกเป็นบางแห่ง อย่างไรก็ตาม เมื่อชีวิตยังต้องดำเนินต่อไป การป้องกันหรือบรรเทาไม่ให้อาการแสดงของโรครุนแรงขึ้น จึงเป็นทางเลือกที่เหลืออยู่และควรทำ Chenchula และคณะ ทำวิจัยโดยการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบเพื่อหาข้อสรุปเกี่ยวกับการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นเพื่อหวังผลประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อสายพันธุ์ Omicron ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า มีประโยชน์มากกว่าโทษ โดยพบว่า วัคซีนเข้มกระตุ้น (BNT162b2 (Pfizer BioNTech), mRNA‐1273(Moderna), ChAd/ChAd (Oxford–AstraZeneca)) สามารถสร้างภูมิคุ้มกันได้ ลดการเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล อย่างไรก็ตาม งานวิจัยนี้ให้ข้อสังเกตที่สำคัญ คือ งานวิจัยที่พบยังไม่สามารถนำผลมารวมกันและทำการอภิวิเคราะห์ได้ และในการนำไปใช้ผู้กำหนดนโยบายจะต้องมีแผนการจัดการให้ได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้นตามความเสี่ยงของผู้ป่วยแต่ละราย และในอนาคตยังคงต้องเฝ้าระวังการกลายพันธุ์ต่อไปอีกหลังมีการเปิดประเทศมากขึ้น